วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

    เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมโยงกันทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ย่อมมีข้อมูลสารสนเทศที่ส่งผ่าน จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ 

    และหากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดี หรือรัดกุม ข้อมูลนั้นอาจจะถูกปรับเปลี่ยน ถูกจารกรรม หรือถูกทำลายไป โดยที่ผู้ส่ง และผู้รับ ไม่สามารถรับรู้ได้เลย
    ผู้ใช้ควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่ต้องปฏิบั ติควบคู่กับการใช้งาน เพื่อเป็นการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่าง เหมาะสม ไม่ควรใช้งานโดยคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองเพียงฝ่าย เดียวควรจะคำนึงถึงผู้อื่นและเคารพสิทธิผู้อื่นด้วย


ดังนั้น...
    การใช้งานที่เป็นไปตามระเบียบผู้ใช้งานจึงต้องมีความ รู้เกี่ยวกับ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี
 


กฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


    1.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให ้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่า เทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ใ นรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเ ล็กทรอนิกส์


   2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบว นการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิ เล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์


   3.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศใ ห้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้ นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสัง คมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพ ัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้


   4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอัน รวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป ็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานใ นความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ


   5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอ ร์ (Computer Crime Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระ บบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม


   6.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเ งินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอน ิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางก ารเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและชอบด้วยกฎหมาย




คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


      1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

      2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

      3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

      4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต

      5.ไม่ทำลายข้อมูล 

      6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต

      7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลห นึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ

      8.การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จน ถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้

     9.ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน

     10.ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา)

     11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรื อองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ 

     12.ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส



                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและชอบด้วยกฎหมาย                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและชอบด้วยกฎหมาย


ผลประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

    
   1. ระบบสารสนเทศสามารถ ทำการคำนวณและประมวลผลงานได้เร็วกว่าคนมาก
   2. ระบบสารสนเทศนำเสนอ ประสิทธิภาพผ่านการให้บริการต่างๆ เช่น ตู้เบิกเงินอัตโนมัติเอทีเอ็ม ระบบโทรศัพท์ หรือเครื่องที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม เป็นต้น
   3. ระบบอินเตอร์เน็ต ช่วยในการเผยแพร่ข่าวสารไปสู่คนทั่วโลกได้
   4. ระบบสารสนเทศช่วยให้สามารถบันทึกรายละเอียดของคนได้อย่างง่ายดายซึ่งอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิ ส่วนบุคคล
   5. ผู้คนที่ใช้ระบบ สารสนเทศเป็น อย่างมากจะประสบปัญหาการเจ็บป่วยในรูปแบบใหม่ๆ



ผลกระทบของระบบสารสนเทศ
   
   1.ระบบสารสนเทศช่วยเหลือองค์กรในการเรียนรู้รูปแบบการซื้อสินค้าและความชอบของลูกค้า
   2.ระบบสารสนเทศสนับสนุนการรักษาโรคขั้นก้าวหน้า รังสีวิทยา และการเฝ้าตรวจคนไข้
   3.ระบบงานที่สามารถทำ งานได้โดยอัตโนมัติ อาจทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
   4.ระบบสารสนเทศถูกนำมา ใช้งานอย่างกว้างขวางแทบจะในทุกเรื่อง การล้มเหลวของระบบงานอาจนำไปสู่ความล้มเหลวขององค์กร ระบบขนส่งมวลชนหยุดทำงาน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้ชุมชนเป็นอัมพาตได้
   5.ระบบอินเตอร์เน็ตอาจ ถูกนำมาใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลหรือโปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้


แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
 

   1.ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
   2.สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
   3.ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีนั้นสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ การดำรงอยู่และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและ
   4.การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคม พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาการป้องกัน
   5.ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ
   6.ใช้แนวทางการบังคับให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ




การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)มีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้

    ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
    ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) คุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
    ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
    จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
    ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
    ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ อนุญาติให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
    ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
    ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์






อ้างอิง :: หนังสือเรียนวิชา 0026 008 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันนเทศอย่างมีจริยธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนอ้างอิง


รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

       กรณีที่มีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (citations in text) เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูล กำหนดให้ผู้เขียนบทความเขียน การอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year or author-date style) และมีการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดไว้ตอนท้ายเอกสาร เรียกว่า เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ซึ่งมีแนวการเขียนโดยย่อดังนี้
       การอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นการอ้างอิงโดยระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุ เลขหน้าของเอกสารที่อ้าง ด้วยก็ได้หากต้องการ ผู้อ่านสามารถตรวจสอบข้อมูลทางบรรณานุกรมของเอกสารที่ใช้อ้างอิงได้จากรายการ เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ในตอนท้ายเอกสาร


รูปแบบการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

     เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรมเป็นการอ้างอิงส่วนท้ายบทความหรือท้ายเล่ม โดยผู้เขียนบทความจะต้องรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้อ้างอิงในผลงานของตน เรียกว่า รายการเอกสารอ้างอิง (References List) หรือ บรรณานุกรม(Bibliography) ซึ่งมีข้อแตกต่างกันคือ



        1. เอกสารอ้างอิง เป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
        2. บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งรายการเอกสารอื่นที่มิได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องมารวบรวมไว้ก็ได้ หากเห็นว่าเอกสารนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงอาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
     
        สำหรับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสำนักวิทยบริการ กองบรรณาธิการกำหนดให้ผู้เขียนรวบรวมเอกสารอ้างอิงเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ภายใต้หัวข้อ "เอกสารอ้างอิง" สำหรับบทความภาษาไทย และ  "References" สำหรับบทความภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงกำหนดให้ผู้เขียนใช้แบบ APA citation style (American Psychological Association Citation Style)


ตัวอย่าง การเขียนรายการเอกสารอ้างอิงแบบ APA citation style

     เครื่องหมาย / หมายถึงเว้นระยะ 1 ตัวอักษร หากเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมายตามตัวอย่าง สำหรับชื่อหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องและ ชื่อเรื่องย่อย ยกเว้นกรณีชื่อเฉพาะ

1. หนังสือ ผู้แต่ง 1 คน

     1.1 รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
    
 1.2 ตัวอย่าง

          บูรชัย ศิริมหาสาคร.  (2554).  มุมที่คนไม่มอง: มุขบริหารสู่การเป็นผู้นำ.  กรุงเทพมหานคร:
 แสงดาว.

          Rowley, J. E.  (1993).  Computer for libraries (3rd ed.).  London: Library Association Publishing.    


2. หนังสือ ผู้แต่งหลายคน

     2.1 รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่งคนที่ 1,/ผู้แต่งคนที่ 2,/&/ผู้แต่งคนที่ 3.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).// 
สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     
2.2 ตัวอย่าง

          ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ.  (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

          Gomez-Mejia, L. R., Balkin, D. B., & Cardy, R. L.  (2007).  Management (3rd ed.).  Boston: McGrawHill.


3. หนังสือที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ

     3.1 รูปแบบที่ 1: ระบุชื่อบรรณาธิการในส่วนของผู้แต่ง (ต้องการอ้างอิงทั้งเล่ม หรือ ผู้แต่งและบรรณาธิการเป็นคนเดียวกัน)

          ชื่อบรรณาธิการ,/(บรรณาธิการ).//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
   
   ตัวอย่าง

          วิฑูรย์ สิมะโชคดี, และกาญจนา หงษ์ทอง, (บรรณาธิการ).  (2550).  TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ.  กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนล. 
   
  3.2 รูปแบบที่ 2: ระบุชื่อผู้แต่งบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ/(เลขหน้าที่ปรากฏบทความ)/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     
ตัวอย่าง

          Hartley, J. T., Harker J. O., & Walsh, D. A.  (1980).  Contemporary issues and new directions in


                    adult development of learning and memory.  In L. W. Poon (Ed.), Aging in the 1980s:

                    Psychological issues (pp. 239-252).  Washington, DC: American Psychological Association.
    
 3.3 รูปแบบที่ 3: ระบุชื่อผู้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องที่ไม่ระบุบรรณาธิการรับผิดชอบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อหนังสือ/(เลขหน้าที่ปรากฏบทความ)/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.

  
   ตัวอย่าง

          ศิริพร สุวรรณะ.  (2529).  การศึกษาความต้องการสารนิเทศในสาขาสังคมศาสตร์.  ใน สารนิเทศกับ

                 การบริหารและการพัฒนา: เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สารนิเทศทางสังคมศาสตร์:

  ความต้องการและหล่งสารนิเทศ (หน้า 7-17).  กรุงเทพมหานคร: สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


 วารสาร

4. บทความวารสาร

     4.1 รูปแบบที่ 1: บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เรียงลำดับเลขหน้าต่อเนื่องกันทั้งรอบปีที่พิมพ์ หรือ ปีที่ (volume) ของวารสาร (continuous pagination throughout volume) สำหรับชื่อวารสารให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เริ่มต้นทุกคำยกเว้นคำเชื่อม

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่,/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

          Arakji, R. Y., & Lang, K. R.  (2008).  Avatar business value analysis: A method for the evaluation of

                    business value creation in virtual commerce.  Journal of Electronic Commerce Research, 9,

                    207-218.  Retrieved from http://www.csulb.edu/journals/jecr
     
4.2 รูปแบบที่ 2: บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เริ่มลำดับเลขหน้าใหม่ในแต่ละฉบับ (issue) ของวารสาร (paginated by issue)

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่(ลำดับที่),/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

          อุมาพรรณ ทรงวิวัฒน์.  (2556).  คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

                    วารสารวิทยบริการ, 24(2), 90-102.

          Williams, J.  (2008).  The victims of crime.  Sociology Review, 17(4), 30-32.

                    Retrieved from http://www.philipallan.co.uk/sociologyreview/index.htm
     สำหรับการเขียนรายการอ้างอิงของบทความวารสารที่มีผู้แต่งไม่เกิน 7 คน ให้ลงชื่อของผู้แต่งครบทุกคน หากบทความมีผู้แต่งร่วมกันเกิน 7 คน ให้ลงชื่อของผู้แต่งคนที่ 1-6 ตามด้วยเครื่องหมาย ... และระบุชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ดังนี้
          Fuchs, D., Fuchs, L. S., Al Otaiba, S., Thompson, A., Yen, L., McMaster, K. N., . . . Yang, N. J.  (2001).

                    K-PALS: Helping kindergartners with reading readiness: Teachers and researchers in

                    partnerships.  Teaching Exceptional Children, 33(4), 76-80.  Retrieved from

หนังสือพิมพ์

5. บทความจากหนังสือพิมพ์

     5.1 หนังสือพิมพ์ฉบับพิมพ์: รูปแบบ

          ผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/หน้าที่ปรากฏบทความ.
     ตัวอย่าง

          ซูม.  (21 เมษายน 2556).  เมืองหนังสือโลก: ทำไมเขาเลือกทม.?.  ไทยรัฐ, หน้า 5.

          Von Drehle, D.  (2000, January 15).  Russians unveil new security plan.

                    The Washington Post, pp. A1, A21.
     5.2 หนังสือพิมพ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์: รูปแบบ

          ผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     
ตัวอย่าง

          ครม.อนุมัติให้ รฟม.กู้เงินในประเทศสร้างรถไฟฟ้า 3 สายแทนกู้จากไจก้า.  (1 เมษายน 2557).  ประชาชาติธุรกิจ.

                    สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1396341620

          ธวัชชัย วิสุทธิมรรค.  (1 เมษายน 2557).  ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปประเทศไทยแค่เอื้อมหรืออีกไกล?.  ไทยโพสต์.

                    สืบค้นจาก http://www.thaipost.net/news/category/66

          Heinlein, G.  (2007, July 24).  Michigan smoking ban takes big step. Detroit News.

                    Retrieved from http://www.detnews.com


เว็บไซต์

6.  สารสนเทศที่สืบค้นจากเว็บไซต์ต่างๆ

     รูปแบบ (ชื่อเอกสารหรือสารสนเทศใช้ตัวอักษรธรรมดา ไม่เป็นตัวเอน)

          ผู้แต่ง.//(ปีที่เผยแพร่ หรือ วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ หากมีข้อมูลครบ กรณีไม่ปรากฏ ให้ใช้ n.d. หรือ ม.ป.ป.).//ชื่อเรื่องของเอกสารหรือสารสนเทศ.//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
   
  ตัวอย่าง

          นลิน ญานศิริ, สรจักร เกษมสุวรรณ, และเปี่ยมศักดิ์  เมนะเศวต.  (2557).  แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย.

                    สืบค้นจาก http://www.healthcarethai.com/แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย

          Health Central Network.  (2009).  Heart attack symptoms and warning signs.  Retrieved from


          Angeli, E., Wagner, J., Lawrick, E., Moore, K., Anderson, M., Soderland, L., & Brizee, A.  (2010, May 5).

                    General format.  Retrieved from http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/560/01/


สื่อวีดิทัศน์  YouTube

7.  สื่อวีดิทัศน์จาก YouTube หรือจากเว็บไซต์ต่างๆ (Note that titles are not italicized)

     รูปแบบ (ชื่อวีดิทัศน์ใช้ตัวอักษรธรรมดา ไม่เป็นตัวเอน)

ชื่อผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง/[Video file].//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          ธนิต บุญเจริญ.  (1 ตุลาคม 2554).  พลังงานทดแทนเพื่อคนไทยทุกคน [Video file].

                    สืบค้นจาก http://www.youtube.com/watch?v=EidVodOV7Mc

          Goyen, A.  (2007, February 22).  Downtown Marquette dog sled races [Video file].

                    Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=gW3CNCGGgTY

          University of Chicago. (2007, December 12). European cartographers and the Ottoman world,

                    1500--1750 [Video file].  Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=Xax5d4IKqrQ


บรรณานุกรม
     วัลลภา  เตชะวัชรีกุล.  ม.ป.ป. รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงประกอบการค้นคว้า วิจัยและงานเขียนทางวิชาการ[ออนไลน์].  สืบค้นจาก: http: www.ba.cmu.ac.th/web2014/filesupload/form/fd31.doc (วันที่สืบค้น 10 พฤษภาคม 2557)
        มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  บัณฑิตวิทยาลัย.  2544.  คู่มือวิทยานิพนธ์.   เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.  2550.  คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ งานเอกสารการพิมพ์.

         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะศิลปศาสตร์ คณาจารย์บรรณารักษศาสตร์.  2554. ห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
         Turabain, Kate L.  1973.   A  Manual  for  Writers  of  Term  Paper  Thesis  and Dissertation.  4th ed.  Chicago: The University of Chicago Press.
          อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 13, 30 มกราคม และ 27 กุมภาพันธ์ 2557. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.


การเขียนอ้างอิงเว็บไซต์ที่ถูกต้อง
posted on 26 Sep 2010 20:15 by cstproject in Knowledge
เชื่อว่าทุกคนที่อ่านเอนทรี่ต้องเคยเขียนรายงานกันแน่ ๆ
ซึ่งส่วนสำคัญอีกส่วนนึงของรายงานก็คือ ข้อมูลอ้างอิง (บรรณานุกรม)
ส่วนใหญ่ก็จะใส่ชื่อเว็บไปเลยซะดื้อ ๆ
จริง ๆ แล้วการอ้างอิงเว็บที่ถูกต้องการมีแบบฟอร์มอยู่
ไปดูกันเลย

การอ้างอิงเอกสาร

        เท่าที่ผมค้นหาข้อมูลมาจะมีการอ้างอิงทั้งแบบไทย กับแบบสากล (อังกฤษ) เพราะฉะนั้นก็ลองเลือก ๆ ลองไปใช้กันเองนะครับ

แบบไทย (อันนี้เอามาจากหนังสือเรียนน่ะ)
          ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อ URL. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น.

EX.
พัชรา แสงศรี. ๒๕๔๗. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://travel.mweb.co.th/north/Chiangmai/index.html. ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗


แบบสากล

ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ปีที่พิมพ์;.[screens (หน้า)]
[cited (ปี เดือน(ย่อ) วันที่เข้าถึง)] Available from(เข้าถึงได้ที่) : URL : ชื่อ URL.
EX.
Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01
[cited 2008 Oct 3]. Available from: http://www.cancer-pain.org/
  • ชื่อผู้แต่ง  คือชื่อผู้เขียนเรื่องนั้น  เรียงตามลำดับตัวอักษร
  • ชื่อเรื่อง   คือชื่อเรื่อง หัวข้อที่แสดง แบบไทยทำตัวเอียงด้วยนะ
  • แหล่งที่มา URL   คือ URL หรือ IP ADDRESS ทั้งหมดในช่อง ADDRESS (เว็บไซต์นั้นแหละ) จะยกมาเฉพาะชื่อ web site ไม่ได้ แบบไทย อย่าลืมใส่ (ออนไลน์). ด้วย
  • ปีที่พิมพ์    ต้องกำหนดปีที่พิมพ์ หรือปีที่ข้อมูล ข้อความ ใน webpage นั้น  update   ซึ่งหาได้จาก Home Page ของ website นั้น   ปีที่พิมพ์นี้ (เช่น วันที่เขียนเอนทรี่นี้) ไม่ใช่ปีที่เราพบข้อความทาง Internet
  • วันเืดือนปีที่สืบค้น  เพราะว่าบางทีมันค่องข้างละล่มบ่อย ให้ใส่วันที่เวลาค้นเจอเว็บด้วย เพื่อว่าจะได้มีเวลาเป็นหลักฐาน เจอเมื่อไหร่