วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ทรัพยากรสารสนเทศ


  ทรัพยากรสารสนเทศ



ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ

        ทรัพยากรสารสนเทศ  คือ  วัสดุที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา


ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ

        1.  ให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
        2.  เป็นหลักฐานอ้างอิงประกอบการค้นคว้า
        3.  เสริมสร้างสติปัญญาทำให้มีความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทันโลก ทันเหตุการณ์ และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
        4.  สามารถนำความรู้ที่ได้จากทรัพยากรสารสนเทศ  มาพัฒนาตนเอง  ในด้านต่าง ๆ ทำให้ ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทและลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศ

        ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
             1)  วัสดุตีพิมพ์
             2)  วัสดุไม่ตีพิมพ์  หรือโสตทัศนวัสดุ

    1. วัสดุตีพิมพ์  คือ  สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกความรู้  ความคิดของมนุษย์นำมารวบรวมเป็นเล่ม  ให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าและใช้อ้างอิง  แบ่งตามลักษณะเนื้อหาได้  ดังนี้
             1.1  หนังสือ  แบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ
                    1.1.1  หนังสือสารคดี  คือ  หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ  ได้แก่

             1) ตำราวิชาการ  คือ  หนังสือที่เขียนขึ้นตามหลักสูตรในสถาบันการศึกษา ระดับต่าง ๆ ใช้ประกอบการเรียนการสอน  เช่น  แบบเรียนวิชาต่าง ๆ



                     2)   หนังสืออ่านประกอบ  คือ  หนังสือที่เขียนขึ้น  เพื่อใช้อ่านประกอบ ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้ได้ความรู้ละเอียดลึกซึ้ง  เช่น  หนังสืออ่านประกอบระดับมัธยมศึกษาที่จัดพิมพ์ และเผยแพร่โดยกรมวิชาการ  เป็นต้น



                        3)  หนังสือความรู้ทั่วไป  คือ  หนังสือที่ผู้เขียนต่าง ๆ เรียบเรียงขึ้นตาม ความสนใจของผู้เขียน  เช่น  ความรู้รอบตัว เป็นต้น



                         4)  หนังสืออ้างอิง  คือ หนังสือที่มีลักษณะรวบรวมความรู้ไว้หลากหลายเพื่อใช้ ค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม เรียบเรียงตามลำดับอักษรของเรื่อง หรือเนื้อหา ที่ต้องการค้น เช่น พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน  และพจนานุกรมไทย-อังกฤษ  สารานุกรมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น



                         5)  ปริญญานิพนธ์  หรือวิทยานิพนธ์  คือ บทนิพนธ์ที่เรียบเรียงขึ้น เพื่อประกอบการศึกษาระดับบัณฑิต



                         6)  สิ่งพิมพ์รัฐบาล คือ หนังสือที่ผลิตโดยหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เช่น หนังสือรายงานประจำปี  ราชกิจจานุเบกษา  และหนังสือรายปี  เป็นต้น



                    1.1.2  หนังสือบันเทิงคดี คือ หนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์และจินตนาการ มุ่งให้ความบันเทิงเป็นสำคัญ เช่น หนังสือนวนิยาย  หนังสือรวมเรื่องสั้น  หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น




             1.2  สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  คือ  สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้  ได้แก่
                    1.2.1  หนังสือพิมพ์รายวัน คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม  ข่าวการศึกษา  ข่าวกีฬา  ข่าวธุรกิจ  ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการ และ สาระน่ารู้   เป็นต้น




                    1.2.2  วารสารและนิตยสาร  คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกตามเวลาที่กำหนด  ได้แก่

                              1) วารสารรายสัปดาห์  มีกำหนดออกสัปดาห์ละ  1  ฉบับ
                              2) วารสารรายปักษ์  มีกำหนดออก  2  สัปดาห์  1  ฉบับ
                              3) วารสารรายเดือน  มีกำหนดออกเดือนละ  1  ฉบับ
                             4) วารสารราย 3  เดือน มีกำหนดออก 3  เดือน  1  ฉบับ เนื้อหาในวารสารจะ เน้นหนัก                                                                                                                                      ทางวิชาการ ส่วนเนื้อหาในนิตยสารจะเน้นบันเทิง


                    1.2.3  จุลสาร คือ สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก  อาจเป็นกระดาษแผ่นเดียวพับไปพับมา หรือ เป็นเล่มบาง ๆ มีความหนาไม่เกิน 60  หน้า  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น  โรคต่าง ๆ วิธีดูแลรักษา  และการปลูกพืชต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่ทันสมัย  เขียนง่าย ๆ จัดพิมพ์ หรือออกโดยหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน เพื่อเผยแพร่ความรู้โดยการแจกจ่ายให้กับประชาชน ห้องสมุด  และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น




                    1.2.4  กฤตภาค   คือ  ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นโดยตัดบทความ ข่าว  และสาระน่ารู้ จากวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลาที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ  บอกแหล่งที่มาบนกระดาษ ให้หัวเรื่อง และนำไปจัดเรียงเข้าแฟ้มตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง เพื่อใช้ ค้นคว้าต่อไป






        2. วัสดุไม่ตีพิมพ์  หรือโสตทัศนวัสดุ  คือ  วัสดุที่ให้ความรู้ความคิดผ่านทางตา ทางหู  ทำให้เกิด ความเข้าใจในการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น  แบ่งออกเป็นประเภทได้  ดังนี้
             2.1  โสตวัสดุ  คือ  ทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่  แผ่นเสียง  แถบบันทึกเสียง  หรือเทปบันทึกเสียง   แผ่นดิสก์  เป็นต้น





             2.2  ทัศนวัสดุ  คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้รับต้องใช้สายตารับรู้ อาจดูด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องฉายช่วยขยายภาพ  เช่น   รูปภาพ  แผนที่  แผนภูมิ  วัสดุกราฟิก  หรือวัสดุลายเส้น ภาพเลื่อน  หรือฟิล์มสตริป  ภาพนิ่ง  หรือ แผ่นชุดการสอน ลูกโลก  หุ่นจำลอง  เกม  และของจริง  เป็นต้น




             2.3  โสตทัศนวัสดุ  คือ วัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพและเสียง ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์สไลด์ ประกอบเสียง  หรือสไลด์มัลติวิชั่น  เป็นต้น




         
         2.4  วัสดุย่อส่วน  คือ  วัสดุที่ได้จากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ  ย่อส่วนลงบนฟิล์มกระดาษ ทึบแสงให้มีขนาดเล็กโดยใช้เครื่องช่วยอ่าน  เพื่อประหยัดงบประมาณและเนื้อที่ในการจัดเก็บ  ได้แก่  ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช  ไมโครการ์ด  ไมโครพรินท์


           



        2.5. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  คือ ทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีการแปลงสารสนเทศเป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์กลับคืนเป็นภาพ หรือเสียง ได้แก่  วิดีทัศน์  ซีดี-รอม









วิธีเลือกใช้วัสดุตีพิมพ์



        การเลือกใช้วัสดุตีพิมพ์เป็นความจำเป็นที่นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า วัสดุตีพิมพ์ประเภทใด เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้ในสถานที่ใด  เวลาใด  อย่างไร  สถานการณ์ไหน  เพื่อให้ตรงตาม วัตถุประสงค์  และใช้ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ  คุ้มค่าแก่เวลา

        1.  หนังสือ  สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์  ดังนี้


            1.1  หนังสือสารคดี 

                    1.1.1  ตำราวิชาการ  อ่านประกอบการเรียนซึ่งเป็นแบบเรียนของวิชาต่าง ๆ
                    1.1.2  หนังสืออ่านประกอบ อ่านประกอบเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ ให้ได้ความรู้ ละเอียดลึกซึ้งขึ้น
                    1.1.3  หนังสือความรู้ทั่วไป อ่านเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมตามหัวข้อที่ต้องการโดยดูจากสารบัญ  หรืออ่านตามความสนใจ
                    1.1.4  หนังสืออ้างอิง  อ่านเพื่อการค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเนื้อหาที่ต้องการค้น
             1.2  หนังสือบันเทิงคดี  อ่านเพื่อความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่  ได้แก่  นวนิยาย  หนังสือสำหรับ เด็ก รวมเรื่องสั้น
       
 2.  สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์  ดังนี้
             2.1  หนังสือพิมพ์รายวัน  อ่านเพื่อทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  และเหตุการณ์ใน ชีวิตประจำวัน  เช่น  คอลัมน์สมัครงาน  โฆษณา  ซื้อ  ขาย  แลกเปลี่ยนสินค้า   และตอบปัญหาสุขภาพ  เป็นต้น
             2.2  นิตยสารและวารสาร นิตยสารอ่านเพื่อความบันเทิง และวารสาร อ่านเพื่อประกอบ การค้นคว้าเรื่องราวที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน  และยังไม่ตีพิมพ์เป็นหนังสือ  เช่น บทความทางวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
             2.3  จุลสาร  อ่านเมื่อต้องการความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ให้ข้อมูลที่ทันสมัย เขียนง่ายๆ   เช่น  โรคต่าง ๆ และวิธีดูแลรักษา  และการปลูกพืชต่าง ๆ เป็นต้น
             2.4  กฤตภาค  ใช้ในการค้นคว้าความรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น  บทความ  ข่าว  และสาระน่ารู้



วิธีเลือกใช้วัสดุไม่ตีพิมพ์

        1.  โสตวัสดุ  ใช้ในการฟังบรรยายจากวิทยากร  การสัมมนา  การสัมภาษณ์ผู้รู้ต่าง ๆ เช่น แถบบันทึกเสียง หรือเทปบันทึกเสียง   แผ่นดิสก์  แผ่นซีดี  เป็นต้น
        2.  ทัศนวัสดุ  ใช้ในการดูประกอบการค้นคว้าหรือการเรียนรู้  เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ  ภาพนิ่ง  เกม  ชุดการเรียน  ของจริง  เป็นต้น
        3.  โสตทัศนวัสดุ ใช้ในการดูและฟังประกอบการค้นคว้าหรือการเรียนรู้ เช่น  ภาพยนตร์และ ภาพนิ่งประกอบเสียง  เป็นต้น
        4.  วัสดุย่อส่วน  ใช้ในการค้นคว้าความรู้เรื่องต่าง ๆ  เช่น  ไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
        5.  วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  ใช้ในการดูและฟังประกอบการค้นคว้าหรือการเรียนรู้  เช่น วิดีทัศน์ และซีดี-รอม  เป็นต้น









ทักษะการรับรู้สารสนเทศ

               
       ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill ) เป็นทักษะที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถตระหนักถึงความต้องการของตนเองได้อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ตนต้องการได้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศ (Ability to access) และเข้าใจสารสนเทศที่มีอยู่อย่างหลากหลายในแหล่งสารสนทศต่างๆ สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ รวมทั้งสามารถประเมินหรือวิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ และสามารถนำมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดความรู้ได้ (American Library Association, 1996) ซึ่งทักษะการรู้สารสนเทศเกี่ยวข้องทั้งทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดการใช้เหตุผล และทักษะทางภาษา ล้วนเป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กันในการที่จะทำให้เกิดทักษะรู้สารสนเทศได้
             
   Bruce (1997) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ 7 ประการ ที่เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้สารสนเทศที่  ประกอบกลุ่มการรับรู้ต่างๆ (perception) ดังนี้
            1. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวถึงการใช้งานและความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            2. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศ เกี่ยวกับลักษณะของแหล่งสารสนเทศประเภทต่างๆ รวมถึงโครงสร้างของแหล่งสารสนเทศ สารมารถใช้แหล่งสารสนเทศได้ด้วยตนเองและอาศัยตัวกลางสารสนเทศ
3. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับกระบวนสารสนเทศ คือ การนำสารสนเทศไปใช้ในสถานการณ์ที่
บุคคลขาดความรู้หรือสารสนเทศ รวมไปถึงการค้นหาและการใช้สารสนเทศที่จำเป็น
4. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมสารสนเทศ ว่าด้วยการกลั่นกรองสารสนเทศ การใช้
ความคิดหรือความจำในการควบคุมสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บและค้นคืนเพื่อการควบคุมสารสนเทศได้
5. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับสร้างองค์ความรู้ องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การคิดเชิงวิเคราะห์
(Critical Thinking) รวมไปถึงการจัดเก็บสารสนเทศ การนำสารสนเทศไปปรับใช้กับแนวความคิดส่วนบุคคล
6. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับการขยายองค์ความรู้ จะเป็นความสามารถโดยสัญชาตญาณและ
ความรู้แจ้งอย่างสร้างสรรค์
7. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับความฉลาด รอบรู้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอย่างชาญ
ฉลาดเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
              

 ป้าหมายสูงสุดของทักษะการรู้สารสนเทศคือ การให้ทุกคนกลายเป็นผู้ที่มีทักษะ
สารสนเทศ (Information Literate Person) และสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการศึกษา การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และผลของการสร้างความรู้และทักษะทางสารสนเทศนี้ จะเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับสังคมสารสนเทศ และรองรับยุคสมัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ










กำหนดความต้องการสารสนเท





วัตถุประสงค์










ความต้องการสารสนเทศ
    ความต้องการสารสนเทศต้องเกิดจาก ความอยากรู้  ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ รองรับ เช่น เพื่อการเข้าสังคม, เพื่อการทำงาน, เพื่อการเรียน, เพื่อการตัดสินใจ, เพื่อแก้ปัญหา และวัตถุประสงค์อื่นๆ 

    ความต้องการสารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เกิดขึ้น โดยที่ตนเองยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นเพียงพอ หรือ อาจรู้แต่รู้ ยังไม่เพียงพอ รู้ยังไม่ชัดเจน เป็นต้น



ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 ขั้นตอน 

1. กำหนดความต้องการสารสนเทศ โดยกำหนดหัวข้อ (Topic) และ ขอบเขต 

          เป็นการกำหนดความต้องการ โดยพิจารณาจากความสนใจส่วนตัว ความสงสัย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการพยายามหาทางแก้ไข เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นๆ โดยกำหนดความต้องการสารสนเทศออกมาเป็น

           1.1 หัวข้อ หัวเรื่อง ชื่อเรื่อง Topic แทนความหมายเป็นคำสำคัญที่สั้นๆ เข้าใจง่าย 

           1.2 ขอบเขต กำหนดหรือสร้าง ขอบเขต โดยการเชื่อมโยงประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Topic  

2. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ
           เมื่อได้ หัวข้อ และ ขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการแล้ว ต้องกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศว่าจะใช้เพื่อกิจกรรมใด กิจกรรมนั้น มีลักษณะที่พิเศษ มีคุณค่าอย่างไร
            หากต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นหัวข้อพูดคุยกับเพื่อน คุณลักษณะของสารสนเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงลึกในเชิงวิชาการ สามารถใช้แหล่งสารสนเทศง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
            แต่หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียน เพื่อการทำงาน หรืออื่นๆ ที่มีคุณค่าสูง อาจต้องเลือกแหล่งสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น สถาบัน (ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
ตัวอย่างของการกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ เช่น
           1) ลักษณะของสารสนเทศ เป็น ข้อความ ภาพประกอบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวเลข เป็นต้น
           2) ปริมาณ สารสนเทศที่ใช้ประกอบ ต้องใช้มากหรือน้อย ถ้ามาก จำนวน เท่าไร น้อย จำนวนเท่าไร
           3) คุณภาพ แม้ว่าสารสนเทศนั้นจะต้องมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงค์จะทำให้การคัดสรรคุณภาพเข้มข้นมากขึ้น คุณภาพสารสนเทศ หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้น

3. กำหนดแหล่งสารสนเทศและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ

            1) แหล่งสารสนเทศ โดยการคิดคำนึงและวิเคราะห์ว่า หัวข้อ ขอบเขต คุณลักษณะ ของสารสนเทศที่กำหนดขึ้นนั้น ควรที่จะใช้แหล่งสารสนเทศใด ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการ เช่น สถาบัน(ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

            2) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยการคิิดคำนึงและวิเคราะห์ว่า แหล่งสารสนเทศที่เลือกนั้น จะใช้ทรัพยากรประเภทใดบ้าง  เช่น แหล่งห้องสมุด ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา บทความวารสาร พจนานุกรม เป็นต้น  หรือ หากใช้แหล่งอินเทอร์เน็ต ต้องใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จำพวก เว็บเพจ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล เอกสารในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น








การแสวงหาและการสืบค้นสารสนเทศทั้งสื่อสิ่ง

พิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์


     เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ หรือคำตอบในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยการซักถามผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ การคาดเดาคำตอบเอง การรับฟังข้อมูลจากผู้อื่น การค้นหาคำตอบจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศที่ตนตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ความต้องการสารสนเทศ
การแสวงหาสารสนเทศประกอบด้วยการะบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
          1.การตระหนักหรือการเล็งเห็นถึงความต้องการสารสนเทศ
          2.การพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศ
          3.การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ
ระดับความต้องการแสวงหาสารสนเทศ
          1.ระดับกว้าง  ผู้ต้องการใช้สารสนเทศสามารถระบุได้เพียงความชอบ ไม่ชอบ  ความไม่พึงพอใจอย่างกว้างๆ แต่ผู้ใช้ไม่สามารถระบุความต้องการได้ ไม่รู้ว่าต้นตองการสารสนเทศอะไร แต่ถ้ามีผู้หาสารสนเทศมาให้รู้ว่าตนสามารถบอกถึงความพึงพอใจที่มีต่อสารสนเทศที่ได้รับ
          2. ระดับรู้ความต้องการ  ผู้ต้องการใช้สารสนเทศรู้ว่าตนมีความต้องการ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนหรือบอกได้กระจ่างว่าตนต้องการอะไร ดังนั้น เพื่อให้ความคิดของตนกระจ่าง ผู้ใช้จะพูดกับผู้อื่นโดยหวังว่าฝ่ายหลังจะเข้าใจ และถามต่อเพื่อลดความไม่ชัดเจนที่มีอยู่ลง
          3. ระดับบอกความต้องการได้  ในกรณีนี้ผู้ต้องการใช้สารสนเทศสามารถอธิบายคำถามหรือความต้องการสารสนเทศได้ชัดเจนขึ้น ความกำกวมลดลง
          4. ระดับรู้แจ้ง  ผู้ใช้สามารถบอกความต้องการ ตลอดจนแหล่งสารสนเทศที่จะลดความต้องการผู้ปฎิบัติงานสารสนเทศจึงไม่ต้องสอบถามเพื่อดูความคิด ความต้องการของผู้ใช้ที่ซ้อนเร่นอยู่ เพียงแต่จับความต้องการที่ผู้ใช้บอกและนำไปค้นสารสนเทศจากระบบสารสนเทศที่มีอยู่
       
   แหล่งสารสนเทศ (Information Sources) หมายถึง แหล่งความรู้ต่างๆที่ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยสารสนเทศที่มีให้บริการนั้นอาจได้มาจากการรวบรวมและจัดหาจากที่มีอยู่เดิมหรือผลิตขึ้นเอง แหล่งสารสนเทศหลักที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศที่เป็นองค์กรที่จัดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้โดยตรง เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ และหอศิลป์ เป็นต้น และแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่ได้จัดให้บริการสารสนเทศโดยตรง เช่น บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่ได้เป็นองค์กร สถานที่ หรือบุคคลแต่เป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน ได้แก่ อินเตอร์เน็ต

การพิจารณาแหล่งสารสนเทศ
          1.แหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ กล่าวคือ หากเราต้องการรู้สารสนเทศอย่างหนึ่ง เราควรรู้ว่าสารสนเทศนั้นมีอยู่ที่ใด หรือน่าจะอยู่ที่ใด และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
          2.วิธีการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศแต่ละแห่งย่อมมีข้อจำกัดในการเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าไปใช้
          3.ขอบข่ายของเนื้อหาของสารสนเทศที่มีในแหล่งนั้นๆ ควรรู้ว่าแหล่งสารสนเทศนั้นมีสารสนเทศเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ให้รายละเอียดในลักษณะใด และมีความทันสมัยมากน้อยเพียงใด
          การศึกษาค้นคว้า หมายถึง การหาข้อมูลและการหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบ จากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้รับคำตอบหรือเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจ การศึกษาค้นความจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้เรามีความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากขึ้นและขัดเจนขึ้น
          การสืบค้นสารสนเทศ (Information Retrieval) เป็นกระบวนการในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มีการบันทึก และเผยแพร่ไว้ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ
         กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศ  หมายถึง วิธีการเพื่อให้ได้สารสนเทศตามวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และตรงต่อความต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสืบค้นสารสนเทศ  กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศมี 2 ลักษณะ คือ
           1. ผู้สืบค้นสารสนเทศทราบรายละเอียดบางส่วนของทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ (know item search) เช่น ทราบชื่อผู้แต่งก็สามารถใช้ชื่อผู้แต่งค้น ถ้าทราบชื่อเรื่องก็สามารถใช้ชื่อเรื่องค้น เป็นต้น ทำให้การค้นหาทำได้รวดเร็ว และไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญในการค้นมาก การค้นลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นแบบพื้นฐาน (Basic Search)
          2. ผู้สืบค้นสารสนเทศไม่ทราบรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการค้น (Un(know item search) ผู้สืบค้นสารสนเทศจะต้องคิดและกำหนดคำค้นที่เป็นคำหรือวลีเพื่อใช้แทนเนื้อหาสาระหรือประเด็นหลักของคำถาม หรือ เรื่องที่ต้องการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คำค้นในลักษณะนี้มีหลายประเภท ได้แก่ หัวเรื่อง อรรถภิธาน และคำสำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยค้นที่สำคัญในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ การค้นลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นแบบขั้นสูง (Advanced search หรือ Enhanced Search)
          ดังนั้นอาจพอสรุปได้ว่า เราสามารถแสวงหาสารสนเทศได้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา และสามารถเข้าสารสนเทศที่เราได้รับนั้นมาพัฒนาให้เกิดเป้นความรู้ ความชำนาญ เพื่อใช้ในการทำงานให้มีประสิธิภาพได้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/377301


วิธีสืบค้นข้อมูล


คำแนะนำการค้นหาสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าวิจัย




  วิธีค้นหาหนังสือและสื่อโสตทัศนวัสดุ
  วิธีค้นหาวารสาร
  วิธีค้นหาบทความวารสาร
  วิธีค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล
  วิธีค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์


สิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ จะรวมถึง หนังสือทั่วไป ตำรา วิทยานิพนธ์ และหนังสืออ้างอิง ได้แก่ พจนานุกรมและสารานุกรม สำหรับสื่อโสตทัศนวัสดุจะรวมถึงสื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง ภาพยนตร์ วิดีโอ ซีดี ดีวีดี เป็นต้น

ฐานข้อมูลทรัพยากรกลาง จะรวบรวมรายการหนังสือและสื่อประเภทอื่นๆทั้งหมดที่มีในห้องสมุดต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเริ่มค้นถ้าไม่มีข้อมูลอื่นผู้ใช้ห้องสมุดอาจจะเริ่มค้นด้วยการใช้คำสำคัญ แต่ถ้าต้องการระบุเฉพาะรายการที่ต้องการ ควรจะค้นด้วยชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง หรืออาจจะเริ่มค้นโดยใช้หัวข้อเรื่อง




  สืบค้นที่ ฐานข้อมูลทรัพยากรกลาง

        

         ถ้าไม่พบหนังสือที่ต้องการในห้องสมุดต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ใช้สามารถ ค้นหาหนังสือของห้องสมุดอื่นๆในประเทศ ผ่านเว็บไซต์สำนักหอสมุดได้ที่ ห้องสมุดในประเทศ หรือ ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

  ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร

ห้องสมุดบอกรับวารสารทั้งในรูปฉบับพิมพ์และออนไลน์ จำนวนมาก สิ่งพิมพ์ประเภทวารสารจะรวมถึง นิตยสารและ หนังสือพิมพ์ ถ้าผู้ใช้ต้องการค้นหาวารสารโดยระบุฉบับ จะต้องทราบข้อมูลของเล่มที่และฉบับที่ของวารสารด้วย
สืบค้นจาก วารสารฉบับพิมพ์

ใช้ วารสารฉบับพิมพ์ เพื่อค้นหาวารสารที่เป็นตัวเล่มในห้องสมุด โดยรายการดังกล่าวจะรวบรวมรายชื่อวารสารฉบับพิมพ์ทั้งหมดที่มีในห้องสมุดต่างๆ และจะระบุรหัสห้องสมุดที่มีวารสารไว้ด้วย
สืบค้นจาก วารสารอิเล็กทรอนิกส์ 

ใช้ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อค้นชื่อวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะรวบรวมรายการวารสารออนไลน์ทั้งหมดของห้องสมุด รวมถึงวารสารที่สามารถเรียกอ่านบทความฉบับเต็มได้
สืบค้นจาก ฐานข้อมูลทรัพยากรกลาง

ฐานข้อมูลทรัพยากรกลางจะรวบรวมรายการวารสารทั้งฉบัปพิมพ์และออนไลน์ เข้าไปสืบค้น ฐานข้อมูลทรัพยากรกลาง และใส่คำค้นชื่อวารสารแล้ว ให้จำกัดการสืบค้นโดยระบุ ประเภททรัพยากร โดยเลือก วารสาร periodical ถ้าชื่อวารสารที่ค้นมีในฐานข้อมูล ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบว่ามีเล่มที่ ฉบับที่ และวันที่ ที่ต้องการหรือไม่ วารสารบางรายการอาจจะเป็นฉบับพิมพ์ ให้จดข้อมูลของวารสารและค้นหาตัวเล่มเพื่อหาบทความที่ต้องการ วารสารบางรายการอาจจะเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้คลิกตามการเชื่อมโยงไปยังวารสารฉบับที่ต้องการ
ถ้าไม่พบวารสารที่ต้องการในห้องสมุดต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ใช้สามารถ ค้นหาจากห้องสมุดอื่นในประเทศ ผ่านเว็บไซต์สำนักหอสมุดได้ที่ หัวข้อ ห้องสมุดในประเทศหรือ เข้าไปที่ journal link

ค้นหาบทความวารสารในฐานข้อมูล
     ฐานข้อมูลต่างๆจะมีการจัดทำดัชนีบทความวารสาร บางฐานข้อมูลจะมีบทความวารสารฉบับเต็ม บางฐานข้อมูลจะให้เฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร หรือมี เฉพะสาระสังเขป นอกจากนั้น ฐานข้อมูลส่วนใหญ่จะครอบคลุมหลายสาขาวิชา มีเฉพาะบางฐานที่ครอบคลุมสาขาเฉพาะเพียงสาขาเดียว
ผู้ใช้ที่ต้องการบทความฉบับเต็ม อาจจะต้องจดรายละเอียดที่ต้องการได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร วันที่ เล่มที่ ฉบับที่และเลขหน้า เพื่อค้นหาตัวเล่มฉบับพิมพ์ในห้องสมุดหรือติดต่อบรรณารักษ์

ฐานข้อมูลคืออะไร?
    ฐานข้อมูลจะเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศ เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ และใช้ในการสืบค้นบทความวารสาร รวมทั้งข้อมูลประเภทอื่นๆ ด้วย
สืบค้นจาก ฐานข้อมูล ตามลำดับชื่อฐาน

    รายชื่อฐานข้อมูล จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อฐาน ผู้ใช้สามารถสืบค้นโดยคลิกเลือกตามตัวอักษรหรือเรียกดูฐานข้อมูลทั้งหมดทุกชื่อตามลำดับ

สืบค้นจาก ฐานข้อมูล ตามลำดับสาขาวิชา

    เพื่อให้สามารถสืบค้นฐานข้อมูลได้ตรงตามสาขาวิชาที่ต้องการ ผู้ใช้สามารถเลือกค้นได้โดยใช้ ฐานข้อมูล ตามลำดับสาขาวิชา หรือ หรือ แหล่งข้อมูลเฉพาะสาขา ซึ่งจะรวบรวมรายการฐานข้อมูล วารสารออนไลน์ เว็บไซต์และทรัพยากรอื่นๆที่คัดเลือกและเกี่ยวข้องกับสาขาที่ผู้ใช้ต้องการ
สืบค้นจากฐานข้อมูลสหสาขาวิชา ได้แก่





  Academic Search Premier
  ScienceDirect


แหล่งข้อมูลเฉพาะสาขา ที่ห้องสมุดจัดทำจะคัดเลือกเว็บไซต์ที่ตรงตามสาขาวิชาที่ผู้ใช้ต้องการ โดยจะรวบรวม รายการฐานข้อมูลของห้องสมุด วารสารออนไลน์ รวมทั้งเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องถ้าต้องการสืบค้นเว็บไซต์เฉพาะ

ผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่าน แหล่งช่วยค้นเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งห้องสมุดได้รวบรวมไว้ในหัวข้อแหล่งอื่นๆ หรือ สืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต



การสืบค้นข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
       อินเทอร์เน็ต  คือระบบเครือข่ายนานาชาติ  เกิดจากเครือข่ายย่อย ๆ  มีบริการมากมายสำหรับทุกคนที่ติดต่ออินเทอร์เน็ต   สามารถใช้อินเทอร์เน็ตส่งจดหมายคุยกับเพื่อน ๆ คัดลอกแฟ้มข้อมูล  และโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  รวมทั้งค้นหาข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก  (เครเบรินส์, แอนนา,  2540, หน้า 42)

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
       1.  ทำให้สามารถบริการค้นหาและเข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน  World  Wide  Web  (WWW)  หรือ ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า  เว็บ  (Web)
       2.  สามารถบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล  เช่น  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (E-mail / Electronic  mail)   การสนทนาทางเครือข่าย  (Chat  rooms)  หรือ  ฟอรั่ม  (Forum)
       3.  สามารถใช้บริการการใช้คอมพิวเตอร์ทางไกล เช่น Telnet (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,  2544, หน้า  5)

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
       1.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตทางลามกอนาจาร  เช่น  ดูเว็บไซต์ลามก  ส่ง  E-mail  ลามก
       2.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น  เช่น  พยายามเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดย ไม่ได้รับ   อนุญาต
       3.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตทำลายผู้อื่น  เช่น  ปล่อยไวรัส
       4.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตหลอกลวงผู้อื่น เช่น การสนทนาผ่านเครือข่ายเพื่อการหลอกลวงผู้อื่น
       5.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในการกระทำการทุจริต   เช่น   ขโมยข้อมูลเรื่องการเงินของธนาคาร ขายของ    ที่ผิดกฎหมาย


ระเบียบและมารยาทในการใช้ห้องสมุดดิจิตอล
       1.  ระเบียบการใช้ห้องสมุดดิจิตอล
            1.1  ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียนเท่านั้น
            1.2  ลงทะเบียนจองการใช้เครื่องก่อนทุกครั้ง
            1.3  หากไม่มาใช้บริการตามที่จองจะให้ผู้จองลำดับต่อไปใช้สืบค้นทันที
            1.4  ไม่นำแผ่นซีดี  มาใช้ในห้องสมุดดิจิตอล
            1.5  ผู้ที่สืบค้นไม่เป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำแนะนำก่อนสืบค้น
            1.6  ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนสืบค้นทุกครั้ง
            1.7  ต้องเสียค่าบริการในการสั่งพิมพ์ข้อมูลทุกครั้งตามที่ห้องสมุดกำหนด
            1.8  ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มมารับประทานในขณะสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
       2.  มารยาทการใช้ห้องสมุดดิจิตอล
            2.1  ไม่ส่งเสียงดังคุยกันในขณะสืบค้นข้อมูล
            2.2  ไม่สืบค้นข้อมูลสารสนเทศนานเกินไปทำให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสสืบค้น
            2.3  เก็บเมาส์และแป้นพิมพ์ให้เรียบร้อยตามเดิม
            2.4  เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยทุกครั้งที่เลิกสืบค้นข้อมูลสารสนเทศแล้ว
            2.5  ไม่ขีดเขียนข้อความใด ๆ ลงบนโต๊ะหรือเก้าอี้ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน ห้องสมุด                  



วิธีการเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

       การเข้าถึง  การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ  สนองตอบความต้องการของ ผู้สืบค้นหรือผู้เรียน  มีวิธีการที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้
      
     1.  ที่อยู่ของเว็บไซต์  เป็นวิธีที่เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการได้รวดเร็วที่สุด  หน่วยงานส่วนใหญ่นิยมเผยแพร่ผลงาน  และกิจกรรมผ่านทางเว็บไซต์  และเชื่อมโยงถึงองค์กรที่เกี่ยวข้อง www.thaigov.go.th  เป็นแหล่งรวมหน่วยราชการไทย ที่ผู้สืบค้นสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้น ในการค้นข้อมูลสารสนเทศได้
      
     2. โปรแกรมค้นคืน  ในกรณีที่ไม่รู้ว่าข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการอยู่ในเว็บไซต์ใด  ผู้สืบค้นสามารถใช้บริการของเว็บไซต์ที่ให้บริการ  Search  Engine  เป็นกลไกเข้าถึง และ/หรือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ สำหรับเว็บไซต์ที่ให้บริการ   Search  Engine  มีอยู่มากมายหลายเว็บไซต์  เช่น
       www.google.co.th
       www.sanook.com
       www.hunsa.com
       www.sabay.com
       Search  Engine  ส่วนใหญ่จะจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่  ผู้สืบค้นควรกด Enter  เข้าในหมวดหมู่ ที่ต้องการก่อนเริ่มสืบค้น  เพื่อให้ขอบเขตของการสืบค้นอยู่ในวงจำกัด  และได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว
      
     3.  คำสำคัญ    เป็นวิธีการสำคัญที่ผู้สืบค้นต้องรู้จักเลือกใช้คำ  หรือวลี  ที่ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่อง ที่ต้องการค้นหา บางครั้งข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการเข้าถึงมีคำสำคัญ เพื่อการสืบค้นหลายคำ เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความหมายรวมถึง  การศึกษาขั้นประถมศึกษา และการศึกษา ขั้นมัธยมศึกษา
     

      การสืบค้น  เริ่มด้วยการพิมพ์คำสำคัญลงในช่องค้นหา  (search  box)  จากนั้นกดแป้นพิมพ์ ที่แป้น  Enter   หรือใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม  search
       ผลการสืบค้นโดยทั่วไป  จะระบุจำนวนรายการที่สืบค้นได้ การแสดงผลการสืบค้นจะเรียงจาก ความสัมพันธ์ หรือสัดส่วนของ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญที่ใช้สืบค้นจากมากไปหาน้อยโดยนำเสนอ ชื่อ  ที่อยู่เว็บไซต์  และสรุปสาระที่มีในเว็บไซต์นั้น ๆ




ตัวอย่าง

           1.  พิมพ์ www.google.co.th ที่ช่อง Address แล้วกดปุ่ม Enter จะเข้าสู่เว็บไซด์ ซึ่งจะมีช่องให้ใส่ คำสำคัญที่ต้องการค้นหา
           2.  การค้นหาข้อมูลสามารถค้นหาข้อมูลได้ในหลายลักษณะคือ เว็บ รูปภาพ แผนที่ แปลภาษา กูรู บล็อก  Gmail  เพิ่มเติม




        3.  ในกรณีที่ต้องการค้นหาเว็บ ให้คลิกเมาส์ที่ คำว่า “เว็บ” จะขึ้นหน้าจอดังรูป ให้พิมพ์คำสำคัญ ที่ต้องการค้นหา เช่น  “แหล่งการเรียนรู้" ลงในช่องค้นหา
        4.  เลือกตรงค้นหาว่าจะค้นหาแบบ “เว็บ” หรือ “หน้าของประเทศไทย” ถ้าเลือก “เว็บ” จะค้นหา จากเว็บทั่วโลก แต่ถ้าเลือก “หน้าของประเทศไทย” จะค้นหาจากเว็บของประเทศไทยเท่านั้น
        5.  จากนั้นให้เลือกว่าคลิกเมาส์ที่ปุ่ม “ค้นหาโดย Google” หรือ “ดีใจจังค้นแล้วเจอเลย” ถ้าเลือก “ค้นหาโดย Google”  หรือกดปุ่ม Enter  ที่คีย์บอร์ด ก็จะได้รายชื่อเว็บที่มีข้อมูลตามคำสำคัญ ที่พิมพ์ไว้ ดังรูป แต่ถ้าเลือก “ดีใจจังค้นแล้วเจอเลย”  ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์แรกที่ค้นหาเจอทันที
        6.  จากรูปจะแสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่หาได้มากมาย ซึ่งสามารถคลิกเมาส์เข้าสู่เว็บไซต์ แต่ละ เว็บไซต์ได้ตามต้องการ




       7.  ดับเบิ้ลคลิก เรื่องที่ต้องการทราบ  เช่น  เรื่อง  ความหมายของแหล่งการเรียนรู้  จะได้ข้อมูลที่ ต้องการทันที ดังภาพ




        8.  ในกรณีที่ต้องการค้นหารูปภาพ ให้คลิกเมาส์ที่ คำว่า “รูปภาพ” จะขึ้นหน้าตาดังรูป ให้พิมพ์ คำสำคัญที่ต้องการค้นหา   เช่น  “แหล่งการเรียนรู้”  ลงในช่องค้นหา  ดังภาพ




        9.  กด Enter จะได้รูปภาพมากมาย ดังรูป ถ้าต้องการดูภาพขนาดจริง หรือ เข้าสู่เว็บไซต์ ที่มีรูปนี้ก็ให้คลิกเมาส์ที่รูปภาพนั้น ๆ




      10. ในกรณีที่ต้องการค้นหาแผนที่ ให้คลิกเมาส์ที่ คำว่า “แผนที่” จะขึ้นหน้าตาดังรูป ให้พิมพ์ คำสำคัญที่ต้องการค้นหา เช่น  “แหล่งการเรียนรู้”  ลงในช่องค้นหา  แล้วกด  Enter  จะได้ภาพ ดังนี้




แหล่งอ้างอิง

       www.thaigov.go.th
       www.google.co.th
       www.sanook.com
       www.hunsa.com
       www.sabay.com






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น